วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สรุปเนื้อหาบทที่ 5

สรุปเนื้อหาบทที่ 5
ตลาดในทางเศรษฐศาสตร์ หมายถึง การที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถตกลงซื้อขายสินค้าและบริการกันได้
          ปัจจัยที่กำหนดขนาดของตลาด  ได้แก่ ลักษณะของสินค้า  รวมถึงรูปร่างของสินค้า การบริการ  สีสัน ขนาด ตรา การสื่อสารและการคมนาคม ถ้าสินค้าใดที่สามารถขนส่งจากมือผู้ผลิตไปยังมือผู้บริโภคด้วยระบบการขนส่งที่สะดวกรวดเร็วและประหยัด ย่อมทำให้ตลาดของสินค้านั้นขยายกว้างออกไป ถ้าการสื่อสารดี ก็จะทำให้การติดต่อถึงกันสะดวกและรวดเร็ว สามารถตกลงเจรจาการค้ากันทางการสื่อสารได้ ทำให้ตลาดขยายกว้างขวางยิ่งขึ้น นโยบายของรัฐบาล  ที่เกี่ยวข้องกับตลาดของสินค้าและบริการจะมีผลทำให้ขอบเขตของตลาดขยายหรือแคบลงได้  ความต้องการของตลาด  ตลาดจะขยายตัวออกไปได้กว้างขวางเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้านั้น ๆ  การกระจายรายได้ของประชาชนในประเทศนั้น ๆ  ถ้าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยากจน มีรายได้ต่ำ การขยายตัวของตลาดสินค้าบางชนิดจะทำได้ยาก  ขนบธรรมเนียมประเพณีและความเชื่อ  การบริโภคสินค้านั้น ๆ ในบางครั้งก็มีผลสืบเนื่องมาจากความเชื่อทางศาสนาหรือวัฒนธรรมด้วย 
          ลักษณะของตลาดที่มีการแข่งขันอย่างสมบูรณ์  จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้ มีผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมาก  สินค้าที่ซื้อขายกันมีลักษณะและคุณภาพเหมือนกันทุกประการ  ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องมีความรู้เรื่องสภาวะตลาดเป็นอย่างดี  การติดต่อซื้อขายจะต้องกระทำได้สะดวกรวดเร็ว  ผู้ผลิดรายใหม่จะมีเสรีภาพเข้ามาดำเนินการผลิตในตลาดได้โดยสะดวก
          ลักษณะของตลาดที่มีการแข่งขันอย่างไม่สมบูรณ์  ซึ่งจำแนกออกเป็น  3 ชนิด ย่อย ๆ คือ ตลาดผูกขาดหรือตลาดผู้ขายเพียงรายเดียว  ตลาดประเภทนี้จะมีผู้ขาย ผู้ผลิตเพียงรายเดียว ทำให้สามารถกำหนดราคา ปริมาณการผลิต การจำหน่ายได้อย่างสมบูรณ์แบบ  ตลาดผู้ขายน้อยราย  จะมีผู้ขายไม่มากราย แต่ละรายจะขายสินค้าเป็นจำนวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณสินค้าทั้งหมดในตลาด  ตลาดกึ่งแข่งขันกึ่งผูกขาด  ผู้ขายแต่ละรายจะมีอิสระในการกำหนดราคาและจำนวนผลิต โดยไม่กระทบกระเทือนต่อผู้ผลิตรายอื่น

กิจกรรมชวนคิด

          ตลาดยังแสดงถึงภาวะการค้าของสินค้าใดสินค้าหนึ่งด้วย ถ้าพูดว่า "ตลาดดีบุกโลกกำลังคึกคัก" หรือถ้าพูดว่า "ยางพาราไม่มีตลาด" ให้นักเรียนอธิบายความหมายของ 2 ประโยคดังกล่าว ส่งคำตอบให้อาจารย์ตรวจ เพื่อเก็บคะแนน
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเรื่องการผลิตเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 

สรุปเนื้อหาบทที่ 4

สรุปเนื้อหาบทที่ 4
การผลิต  เป็นกระบวนการแปรรูปปัจจัยการผลิตให้เป็นสินค้าและบริการ
          อรรถประโยชน์ หมายถึง ความพึงพอใจที่ผู้บริโภคจะได้รับจากการบริโภคสินค้าหรือบริการชนิดใดชนิดหนึ่ง ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
          อรรถประโยชน์ของสินค้าหรือบริการ  เป็นสิ่งที่ผู้ผลิตหรือเจ้าของปัจจัยการผลิตต้องนำมาพิจารณาว่า สินค้าหรือบริการนั้น ๆ จะสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค หรือมีอรรถประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด
          ปัจจัยการผลิต ได้แก่ เจ้าของที่ดิน  หมายถึงที่นำมาใช้ในการประกอบกิจการต่าง ๆ เช่น ที่ตั้งสำนักงาน เจ้าของแรงงาน  หมายถึง การทำงานทุกชนิดของมนุษย์ทั้งที่ใช้แรงงานกำลังความคิด ความสามารถ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ในการผลิตสินค้าหรือบริการ เจ้าของทุน  หมายถึง เครื่องมือเครื่องใช้หรือเงินทุนที่ใช้ในการซื้อหาปัจจัยการผลิตอื่น ๆ  ผู้ประกอบการ  หมายถึง บุคคลที่หรือกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งองค์การผลิตขึ้น เพื่อผลิตสินค้าและบริการ
          ผลตอบแทนของเจ้าของปัจจัยการผลิต  ในระบบการผลิตซึ่งต้องอาศัยปัจจัยการผลิต จึงจะทำให้ได้รับผลผลิตตามที่ต้องการ และสามารถนำออกจำหน่ายสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ สำหรับเจ้าของปัจจัยการผลิตนั้นก็จะได้รับผลตอบแทนดังนี้ เจ้าของทุน  ค่าตอบแทนเป็นดอกเบี้ย  เจ้าของแรงงาน  ค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง เจ้าของที่ดิน  ค่าตอบแทนเป็นค่าเช่า ผู้ประกอบการ ค่าตอบแทนเป็นกำไร
          ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต เนื่องจากการใช้ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ  ต้นทุนการผลิตสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ต้นทุนคงที่ เป็นต้นทุนที่เกิดจากค่าใช้จ่ายประจำที่ไม่ผันแปรไปตามปริมาณการผลิต ไม่ว่าจะผลิตสินค้าหรือบริการในปริมาณมากหรือน้อยเพียงใด ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในจำนวนที่คงที่ เช่น ค่าเช่าที่ดิน ต้นทุนผันแปร เป็นค่าใช้จ่ายที่ผันแปร ซึ่งจะมีปริมาณรายจ่ายมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณการผลิต ถ้าผลิตในปริมาณมากก็จะเสียต้นทุนมาก ถ้าผลิตปริมาณน้อยก็จะเสียต้นทุนน้อย และถ้าไม่มีการผลิตก็ไม่ต้องจ่ายเลย เช่น ค่าน้ำค่าไฟฟ้า

กิจกรรมชวนคิด
         
          ประเภทของการผลิตสามารถแบ่งเป็นสาขาการผลิตได้หลายประเภท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดไว้ ให้นักเรียนบอกประเภทของการผลิตในจังหวัดลำพูนมาอย่างน้อย 5 ประเภท และส่งให้อาจารย์
มีคะแนนให้ด้วย
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเรื่องการผลิตเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 

สรุปเนื้อหาบทที่ 3

สรุปเนื้อหาบทที่ 3
อุปสงค์ คือ จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ซื้อต้องการซื้อ ณ ระดับราคาต่าง ๆหรือ ณ ระดับรายได้ต่างๆ หรือ ณ ระดับราคาสินค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยปกติจะให้ความสำคัญกับเรื่องระดับราคามากที่สุด และเมื่อราคาสินค้าเปลี่ยนแปลงไป จำนวนซื้อสินค้าและบริการชนิดนั้นก็จะเปลี่ยนแปลงในทิศทางตรงกันข้ามเสมอ ที่เป็นเช่นนี้เพราะผลของราคาซึ่งประกอบด้วยผลของการทดแทนกัน และผลของรายได้
          เส้นอุปสงค์สามารถสร้างได้จากข้อมูลในตารางอุปสงค์ ซึ่งจะแสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคา และปริมาณซื้อ โดยปกติเส้นอุปสงค์จะเป็นเส้นทอดลงจากซ้ายไปขวา เส้นอุปสงค์สามารถเปลี่ยนแปลงไปทั้งเส้น โดยอยู่ทางขวามือหรือทางซ้ายมือของเส้นเดิมก็ได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปสงค์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่ทำให้จำนวนซื้อมากขึ้นหรือน้อยลง
          อุปทาน  คือ  จำนวนสินค้าและบริการที่ผู้ขายต้องการขาย  ณ ระดับราคาต่าง ๆ ซึ่งจำนวนขายจะเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกันกับราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเส้นอุปทานซึ่งเป็นเส้นที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างราคาและจำนวนขาย จึงเป็นเส้นทอดขึ้นจากซ้ายไปขวา เส้นอุปทานสามารถเปลี่ยนแปลงไปทางซ้ายมือหรือขวามือของเส้นเดิมได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดอุปทานอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ราคา ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะที่จะทำให้จำนวนขายมากขึ้นหรือน้อยลง
          ราคาดุลยภาพ  เป็นราคาที่ทำให้จำนวนเสนอซื้อ (อุปสงค์) เท่ากับจำนวนเสนอขาย (อุปทาน) ราคาใด ๆ ที่ต่ำกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน และราคาใด ๆ ที่สูงกว่าราคาดุลยภาพจะทำให้เกิดอุปทานส่วนเกิน ราคาดังกล่าว จะปรับเข้าสู่ราคาดุลยภาพและราคาจะไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากจะมีการเคลื่อนย้ายเส้นอุปสงค์ และ/หรืออุปทาน ซึ่งอาจทำให้ราคาดุลยภาพใหม่ และ/หรือปริมาณดุลยภาพใหม่สูงขึ้นหรือลดลง
          โดยปกติรัฐบาลจะปล่อยให้กลไกราคาทำงานไปตามลำพัง โดยไม่เข้าไปควบคุมราคา ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นซึ่งกลไกราคาไม่สามารถปรับตัวได้ทัน มาตรการที่ใช้รัฐบาลจะเข้าแทรกแซงกลไกของราคาในตลาด เพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมมี 2 มาตรการ คือ การกำหนดราคาขั้นต่ำ (การประกันราคา) ซึ่งจะกระทำเพื่อยกระดับราคาของสินค้าที่เป็นอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้ารายการที่สำคัญ เป็นการช่วยเหลือผู้ผลิตหรือผู้ขาย อีกมาตรการก็คือ การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่ใช้กำหนดราคาสินค้าไม่ให้สูงเกินเพดาน จะใช้ในระหว่างเกิดขาดแคลนสินค้า ซึ่งการขาดแคลนสินค้าทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนผู้บริโภคเดือดร้อน
กิจกรรมชวนคิด
          1.ให้นักเรียนสร้างตารางอุปสงค์ และตารางอุปทานของสินค้าใดสินค้าหนึ่ง (สมมติตัวเลขขึ้นเอง) และเขียนเส้นอุปสงค์และเส้นอุปทานจากตาราง
          2. ให้นักเรียนเขียนกราฟแสดงภาวะดุลยภาพของตลาดไก่ในเชียงใหม่ก่อนและในระหว่างการเกิดการระบาดของไข้หวัดนก (ในแผ่นกราฟเดียวกัน)
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง อุปสงค์ อุปทาน และราคาดุลยภาพเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 

สรุปเนื้อหาบทที่ 2

สรุปเนื้อหาบทที่ 2
ระบบเศรษฐกิจ คือหน่วยเศรษฐกิจและหน่วยธุรกิจรวมตัวกัน เพื่อดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้รูปแบบของการปกครอง จารีต ประเพณี สังคม วัฒนธรรมของแต่ละประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะช่วยตัดสินปัญหาพื้นฐานของระบบเศรษฐกิจทุกระบบให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาลจะต้องกำหนดรูปแบบทางเศรษฐกิจ ออกระเบียบข้อบังคับ และมีวิธีการควบคุมการ ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เหมาะสม และเป็นผลดีต่อประเทศ  
        ระบบเศรษฐกิจ  แบ่งเป็น 4 ระบบใหญ่ ๆ คือ ระบบทุนนิยมหรือเสรีนิยม จะให้สิทธิแก่เอกชนในการตัดสินใจดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่  ระบบสังคมนิยม  จะมีการวางแผนจากส่วนกลาง รัฐจะต้องเป็นผู้กำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  ระบบคอมมิวนิสต์ ทรัพย์สินทุกอย่างเป็นของรัฐ ภาคเอกชนไม่มีสิทธิเป็นจ้าของปัจจัยการผลิด  และระบบผสม  ส่วนใหญ่เป็นระบบเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ครัวเรือน ธุรกิจ และรัฐบาล 
          หน้าที่ของแต่ละบุคคลในระบบเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจหน่วยหนึ่ง ๆประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่ต่างกัน คือ ผู้ผลิตหรือหน่วยธุรกิจ  ทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าและบริการ  โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กำไรสูงสุด เจ้าของปัจจัยการผลิต  บุคคลที่มีสิทธิอันชอบธรรมตามกฎหมาย เช่น ทรัพย์สิน ทุน ที่ดิน แรงงาน มาให้ผู้ผลิต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้มีรายได้มากที่สุด  ผู้บริโภค เป็นผู้ใช้สินค้าหรือบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้รับความพอใจในการแลกเปลี่ยนกับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายไป
กิจกรรมชวนคิด
          ให้นักเรียนค้นคว้าจาก Internet หารายชื่อประเทศต่าง ๆ ในโลกที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ และที่ใช้ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ให้ได้มากที่สุดและนำมาติดบอร์ดหน้าห้องเรียน
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องระบบเศรษฐกิจเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 

สรุปเนื้อหาบทที่ 1

สรุปเนื้อหาบทที่ 1
เศรษฐศาสตร์  เป็นวิชาที่ศึกษาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม เกี่ยวกับการเลือกใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด  เพื่อผลิตสินค้าและบริการไปบำบัดความต้องการของมนุษย์อันมีอยู่อย่างไม่จำกัด  เศรษฐศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือเศรษฐศาสตร์จุลภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจหน่วยย่อย และเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นการศึกษาเศรษฐกิจส่วนรวมทั้ง 2 แขนง มีความสัมพันธ์กัน และมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันนอกจากนี้ เศรษฐศาสตร์ยังมีความสัมพันธ์กับวิชาอื่นๆ เช่น บริหารธุรกิจ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ และจิตวิทยา เป็นต้น
          ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์  แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง เป็นการศึกษาเพื่อให้รู้ว่าอะไรคืออะไร และทฤฎีเศรษฐศาสตร์ตามที่ควรจะเป็น เป็นการศึกษาเพื่อตัดสินว่าคุณค่าของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีผลกระทบต่อสังคมอย่างไร
          การศึกษาเศรษฐศาสตร์ มี 2 วิธี คือ วิธีอนุมาน เป็นการศึกษาจากสาเหตุไปหาผล และวิธีอุปมาน เป็นการศึกษาจากผลเพื่อหาสาเหตุ ทุกสังคมในโลกล้วนมีปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เนื่องจากมีปัจจัยการผลิตจำกัด ทำให้ต้องมีการตัดสินใจว่า จะใช้ปัจจัยการผลิตนั้นไปเพื่อเลือกผลิตอะไร ใช้กรรมวิธีผลิตอย่างไร และจะแบ่งปันสินค้าและบริการที่ผลิตได้ไปให้ใครบ้าง
          เศรษฐศาสตร์เป็นวิชาที่มีประโยชน์มาก เพราะเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ผลิต เจ้าของปัจจัยการผลิต หรือผู้บริโภค
กิจกรรมชวนคิด
          ให้นักเรียนเสนอความคิดเห็นในฐานะผู้บริโภค เพื่อสนับสนุนคำกล่าวที่ว่า "การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์มีประโยชน์ต่อผู้ศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและชีวิตการทำงาน"ส่งอาจารย์มีคะแนนให้
แหล่งอ้างอิง
          ให้นักเรียนค้นคว้าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์เบื้องต้นเพิ่มเติมได้จากคู่มือเรียนวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น 

ใบงานที่ 27

ใบงานที่ 26

ใบงานที่ 25

ใบงานที่ 24

ใบงานที่ 23

ใบงานที่ 22

ใบงานที่ 21

ใบงานที่ 20

ใบงานที่ 19

ใบงานที่ 18

ใบงานที่ 17

ใบงานที่ 16

ใบงานที่ 15

ใบงานที่ 14

ใบงานที่ 13

ใบงานที่ 12

ใบงานที่ 11

ใบงานที่ 10

ใบงานที่ 9

ใบงานที่ 8

ใบงานที่ 7

ใบงานที่ 6

ใบงานที่ 5

.ใบงานที่ 4

ใบงานที่ .................
รหัสวิชา                ส 32101  รายวิชา               เศรษฐศาสตร์                                                      ชั้น          ม.5         
หน่วยการเรียนรู้ ที่            ความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์                                                                 
เรื่อง       การผลิต                                                                                                                                                               
จุดประสงค์           เพื่อให้นักเรียนสามารถจำแนกลำดับขั้นการผลิตได้

คำชี้แจง
            ให้นักเรียนตอบยกตัวอย่างกิจกรรมการผลิตในหมู่บ้านหรืออำเภอที่นักเรียนอาศัยอยู่คนละ 10 กิจกรรมการผลิตขึ้นไป  จากนั้นเขียนเป็นแผนผังความคิด (Concept  Mapping) เพื่อจำแนกลำดับขั้นของการผลิตให้ถูกต้อง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                        

ใบงานที่ 3

ใบงานที่ .................
รหัสวิชา                ส 32101  รายวิชา               เศรษฐศาสตร์                                                      ชั้น          ม.5         
หน่วยการเรียนรู้ ที่                                                                                                                                           
เรื่อง                       กิจกรรมทางเศรษฐกิจ                                                                                                    
จุดประสงค์   เพื่อให้นักเรียนเข้าใจความหมาย ประเภท ลำดับขั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้

คำชี้แจง
   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง โดยค้นคว้าหาคำตอบจากหนังสือ หรือเอกสารประกอบหลายๆ เล่ม

1.       กิจกรรมทางเศรษฐกิจ หมายถึง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                               

2.       ในทางเศรษฐศาสตร์ แบ่งปัจจัยการผลิตออกเป็น กี่ประเภท  อะไรบ้าง                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     
3.       ให้นักเรียนแสดงผังความคิด (Mind Mapping) เกี่ยวกับลำดับขั้นของการผลิต พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบให้ชัดเจน                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                    
4.       ให้นักเรียนจำแนกประเภทของหน่วยเศรษฐกิจว่ามีกี่ประเภทให้ถูกต้อง พร้อมทั้งแสดงความคิดเห็น                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                              

ใบงานที่ 2

ใบงานที่ .................
รหัสวิชา                ส 32101  รายวิชา               เศรษฐศาสตร์                                                      ชั้น          ม.5         
หน่วยการเรียนรู้ ที่            2                                                                                                                             
เรื่อง                       กิจกรรมทางเศรษฐกิจ                                                                                                    
จุดประสงค์   เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในกิจกรรมทางเศรษฐกิจในฐานะผู้ผลิตและผู้บริโภค

คำชี้แจง
   ให้นักเรียนสำรวจกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่นักเรียนเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภค

ฐานะผู้ผลิต
ฐานะผู้บริโภค
1.
1.
2.
2.
3.
3.
4.
4.
5.
5.